วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

หน่วยที่ 5 การปรับแต่งสไลด์ด้วยข้อความ

รูปแบบของการปรับแต่งสไลด์ 
ในโปรแกรม Power point มีรูปแบบการตกแต่งสไลด์ให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ โดยภายในรูปแแบบนั้นก็จะปรากฎและประกอบด้วยองค์ประกอบภายใน ดังนี้

ใช้ธีมเพื่อทำให้กระบวนการสร้างงานนำเสนอที่มีลักษณะเหมือนนักออกแบบมืออาชีพเป็นเรื่องง่ายขึ้น สี แบบอักษร และลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบไม่เพียงใช้งานได้เฉพาะใน PowerPoint เท่านั้น แต่ยังพร้อมใช้งานใน Excel, Word และ Outlook ดังนั้นจึงทำให้งานนำเสนอ เอกสาร แผ่นงาน และอีเมลของคุณมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องชุดรูปแบบเดียวกันที่ใช้ใน PowerPoint, Excel และ Word
เมื่อต้องการจะลองใช้ชุดรูปแบบอื่น ให้วางตัวชี้บนรูปขนาดย่อในแกลเลอรีชุดรูปแบบและให้สังเกตว่าเอกสารของคุณได้เปลี่ยนไปอย่างไรกัน

                   
การใช้งานชุดรูปแบบ
1. เปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint
2. คลิกเลือก Design
3. คลิกเลือก Browse
4. เลือกไฟล์ Template จากไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูล โดยจะแสดงตัวอย่างเพื่อให้เลือก
5. คลิกปุ่ม Apply
6. คลิกเลือก Template ที่ต้องการ เพื่อเริ่มผลิตงานนำเสนอ

                            

การตกแต่งสไลด์ด้วยชุดรูปแบบสี
สไลด์ที่สร้างไว้มากมายโดยไม่มีสีสันหรือลวดลายประกอบนั้น ถ้านำไปแสดงในที่ประชุมก็อาจ ทำให้ผู้ชมไม่สนใจ การตกแต่งสไลด์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไว้ แต่ก็ต้องไม่มากเกิน ไปจนทำให้ผู้ชมสับสน ซึ่งการตกแต่งสไลด์นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่จำเป็น 3 อย่างคือ
1. Template (แม่แบบ) คือแบบสไลด์สำเร็จรูปหรือแม่แบบที่ PowerPoint เตรียมไว้ให้มีทั้งลวด ลาย สี ฟอนต์และขนาดตัวอักษร ช่วยให้การแต่งสไลด์ได้รวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น
2. Color Schemes (โครงร่างสี) คือกลุ่มของสีที่มีอยู่ด้วยกัน 8 สี ที่ออกแบบมาให้ใช้กับส่วนประกอบต่างๆ ในสไลด์ เช่น สีที่ใช้กับข้อความและเส้น, พื้นหลัง, เงา, หัวเรื่องและอื่นๆ ซึ่งมีให้เลือกหลายชุดด้วยกันและจะแตกต่างกันไปเมื่อเลือกแม่แบบที่ต่างกัน
3. Master (ต้นแบบ) ช่วยให้การแต่งสไลด์ต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น กำหนดฟอนต์และ ขนาดของข้อความที่เป็นรายการย่อยครั้งเดียวในสไลด์ที่เป็นต้นแบบ ก็จะมีผลต่อทุกๆ สไลด์ แต่ถ้าจะทำ ให้แผ่นสไลด์ใดๆ แตกต่างจากสไลด์อื่น ก็ให้แต่งที่สไลด์แผ่นนั้นๆ แทน

                
การปรับแต่งรูปแบบข้อความบนสไลด์
การใส่ข้อความในสไลด์มี 4 วิธีด้วยกันคือ
1. ใส่ในตัวยืด (Placeholder) ตัวยึดนี้จะมาพร้อมกับสไลด์แต่ละแบบที่เลือก ซึ่งสามารถเปลี่ยนฟอนด์หรือขนาดของอักษรได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ หัวเรื่องหลัก (Title), หัวเรื่องรอง (Subtitle) และแบบรายการย่อย (Bullet) ซึ่งในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ) จะแสดงข้อความเหล่านี้ให้เห็นและแก้ไขได้
2. ใส่ในกล่องข้อความ (Textbox) คล้ายกับตัวยึด ใช้เพิ่มข้อความนอกเหนือจากตัวยึดที่มีให้ในแต่ละสไลด์ แต่จะไม่แสดงในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)
3. ใส่ในรูปแบบอัตโนมัติ (AutoShape) ที่มีรูปร่างแบบต่างๆ เช่น ดาว, ลูกศร แต่ไม่แสดงให้เห็นในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)
4. ใส่ใน WordArt ซึ่งสามารถประดิษฐ์หรือตัดข้อความให้เป็นรูปต่างๆ หมุน ใส่สี หรือมีเงาในแบบแปลกๆ แต่ไม่แสดงในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ หน่วยการเรียนรู้ที่9 การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ

โปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ หน่วยการเรียนรู้ที่9 การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ  หน่วยการเรียนรู้ที่9 การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ - กา...